share

Multi-Factor Authentication และ Single Sign-On ผสานความลงตัวโซลูชั่นการรับรองและยืนยันความถูกต้อง

Last updated: 23 Oct 2023
163 Views
Multi-Factor Authentication และ Single Sign-On ผสานความลงตัวโซลูชั่นการรับรองและยืนยันความถูกต้อง

การยืนยันตัวตนด้วย username และ password ในโลกดิจิตอลปัจจุบัน ดูจะเป็นเรื่องธรรมดา ที่ไม่เพียงพอต่อการปกป้องข้อมูลที่มีความสำคัญมากของเราอีกต่อไป การขโมยข้อมูลการระบุตัวบุคคล การละเมิดทางข้อมูล มัลแวร์ การปลอมตัวหลอกล่อเอาข้อมูลที่เป็นอันตรายต่างๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้ระบบความปลอดภัยทางข้อมูลจำเป็นต้องอยู่เหนือภัยคุกคามด้านความปลอดภัยขึ้นไปอีกหนึ่งระดับ หรือมากกว่า

ระบบความปลอดภัยที่แข็งแรง และเชื่อถือได้ในยุคสมัยใหม่นี้ สำหรับหน่วยงานราชการ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง หรือ องค์กรขนาดใหญ่ ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องสำคัญ แต่มันคือ “สิ่งจำเป็น”

ระบบความปลอดภัยที่ดีต้องคำนึงถึงความต้องการขององค์กร และพนักงาน, การสร้างความสมดุลระหว่างการป้องกัน, การเข้ารหัส และความง่ายต่อการใช้งาน

รูปแบบความปลอดภัยในการยืนความถูกต้องส่วนใหญ่มักจะมีโซลูชั่นตัวเลือกหลักๆอยู่สองทาง คือ “Single Sign-On (SSO)” หรือ “Multi-Factor Authentication (MFA)” – การตัดสินใจเลือกว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรจะต้องพิจรณาอย่างรอบขอบถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละแบบ และแน่นอนว่า ทั้งสองอย่างไม่ใช่โซลูชั่นที่จะทำงานร่วมกันไม่ได้ เราสามารถเลือกใช้ทั้งสองอย่างเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเงินของแต่ลงองค์กร และความสามารถในการจัดสรรงบประมาณและเวลาในแต่ละโครงการ ก็เป็นปัจจัยในการสร้างความแตกต่างให้กับโซลูชั่นที่เลือกใช้

Muti-Factor Authentication คืออะไร?

เรียกย่อๆว่า MFA คือการใช้ปัจจัยหลายๆอย่างในการตรวจสอบและยืนยันตัวบุคคล เพื่ออนุญาตเข้าใช้งาน ซอฟต์แวร์, ระบบ หรือข้อมูลต่างๆ โดยทั่วไประบบ MFA จะเป็นการใช้เครื่องมือตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปในการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง ดังนี้

  • What you know (สิ่งที่คุณรู้): เช่น password, รหัสประจำตัว, หรือ คำถามเฉพาะเพื่อกู้รหัสผ่าน
  • What you have (สิ่งที่คุณมี): เช่น บัตรสมาร์ทการ์ด} FIDO token, one-time password (OTP), อุปกรณ์บลูทูธ, apple watch หรือ authenticator device อื่นๆ
  • Who you are (สิ่งที่คุณเป็น): เช่น ลายนิ้วมือ หรือ ระบบจดจำใบหน้า
  • What you do and where you are (สิ่งที่คุณทำ หรือ ที่ที่คุณอยู่): เช่น การระบุที่อยู่ โดยใช้ GPS, IP Address หรือ Integrated Windows Authentication (IWA) และ พฤฒิกรรมนิสัยการพิมพ์ (keystroke biometrics)

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดของ multi-factor authentication นั่นก็คือ “ความปลอดภัยที่สูงขึ้น” การเพิ่มเครื่องมือหรือปัจจัยในการรับรองความถูกต้องเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ password, hardware token และ biometric เพื่อรับรองความถูกต้องของผู้ใช้งาน สามารถลดความเสี่ยงการละเมิดการเข้าถึงข้อมูลและซอฟต์แวร์ลงได้เป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ MFA มีประโยชน์อย่างมากในการใช้งานเพื่อความปลอดภัยในการยืนยันผู้ใช้งานเข้าระบบ ในหลายครั้งก็มักจะตามมาซึ่งความยุ่งยากในการบริหารจัดการและการใช้งาน ผู้ใช้งานจำเป็นต้องจัดเตรียม factor ที่สอง (อย่างแรกคือสิ่งที่รู้ หรือจำได้) สำหรับบางผู้ใช้งาน การต้องจัดเตรียมโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เพื่อรับ one-time password (OTP) ผ่าน SMS อาจจะเป็นข้อจำกัด แต่ถึงอย่างนั้น MFA ก็ยังคงเป็นรูปแบบที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับองค์กรในการล็อคระบบเครือข่าย หรือแอพพลิเคชั่นจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต

Single Sign-On คืออะไร

แนวคิดของคำว่า single sign-on (SSO) ค่อนข้างตรงไปตรงมา นั่นคือ ผู้ใช้งานมีการลงชื่อเข้าใช้หลัก เพื่อรับรองความถูกต้องของตัวเองในตอนเริ่มต้นการใช้งาน และเมื่อหลังจากนั้น หากผู้ใช้งานต้องการลงชื่อเข้าใช้ซอฟต์แวร์อื่นๆ ระบบ SSO ก็จะทำการ log-in ให้เองโดยอัตโนมัติ โซลูชั่น SSO จะจัดเก็บข้อมูลการยืนยันรับรองที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ทุกชิ้นที่ต้องการเข้าถึง จากนั้นจะตรวจสอบความถูกต้องของผู้ใช้กับระบบเหล่านั้นเมื่อจำเป็นต้องเข้าถึง

ประโยชน์ของการใช้ single sign-on (SSO) ประกอบด้วย

  • ผู้ใช้งานแค่ต้องจำเพียง 1 password แม้ว่าอาจจะต้องป้อนข้อมูลรหัสประจำตัวสำหรับระบบอื่นๆเป็นบางครั้ง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากมากเกินไป
  • ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น การยืนยันด้วย biometric สามารถเพิ่มเข้ามาใช้ร่วมกับ single sign-on ในครั้งแรกได้ หรือ สามารถเข้าถึงได้โดยผ่าน usb token, software token หรือ อุปกรณ์เข้ารหัสอื่นๆ ซึ่ง ณ จุดนี้ MFA เรียกได้ว่า สามารถเข้ามามีบทบาทร่วมกันได้
  • SSO เป็นโซลูชั่นที่รวดเร็ว และสะดวกกับผู้ใช้งาน ช่วยประหยัดเวลาด้วยการที่ไม่ต้องใช้เวลาไปกับการ log-in ทุกครั้งกับหลายๆแอพพลิเคชั่น
  • ความเสี่ยงของการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตลดลงในบางกรณี ตัวอย่างเช่น ข้อมูลยืนยันผู้ใช้งาน สำหรับ 3rd party applications สามารถจัดเก็บแบบภายใน แทนที่จะเก็บบนระบบภายนอก
  • การติดต่อร้องขอการ support จากฝ่าย service เพื่อขอ reset password มีน้อยมาก สามารถลดงานด้าน IT support ที่ไม่จำเป็นได้เป็นอย่างดี

ข้อเสียของการใช้ single sign-on (SSO):

  • ถ้า hacker หรือ มัลแวร์ต่างๆ สามารถเข้าถึง SSO ได้ ระบบที่ใช้ SSO ทั้งหมดจะตกอยู่ในอันตรายทันที
  • SSO ต้องถูกนำมาใช้คู่กับการเข้ารหัส และวิธีการตรวจสอบที่แข็งแรง เพื่อป้องกันเหตุการณ์นี้ไม่ให้เกิดขึ้น
  • หากระบบ SSO สูญหาย หมายความว่า ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเข้าถึงระบบใดๆได้เลย กลายเป็นจุดบอดจุดเดียวที่กระทบระบบทั้งหมด

The best of both worlds—combining SSO and MFA

MFA และ SSO ต่างมีข้อด้อยด้านความปลอดภัยและการรับรองความถูกต้องจากหลายๆ ด้าน

SSO นั้นสะดวกสบายมากกว่าสำหรับผู้ใช้งาน แต่ก็มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สูงกว่า ส่วน MFA นั้นมีความปลอดภัยที่สูงกว่า แต่ก็สะดวกสบายน้อยกว่า แล้วพื้นที่ที่จะทำให้รวมทั้งสองโซลูชั่นนี้เข้าด้วยกันเพื่อจะได้เป็นโซลูชั่นที่ทั้งปลอดภัย และสะดวกง่ายดายคืออะไร?

และนี่คือสิ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยและการเข้ารหัสขับเคลื่อนไปข้างหน้า มันคือวิวัฒนาการด้านความปลอดภัย ทำให้มีแนวทางใหม่ๆบางส่วนได้ถูกทดสอบและใช้งาน เช่น

  • กำหนดให้ใช้ secure MFA sign-on ตั้งแต่เริ่มต้นการใช้งาน คล้ายกับโซลูชั่น single sign-on
  • ให้สิทธิการเข้าถึงแก่ผู้ใช้ ที่ผ่านการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน
  • กำหนดให้ใช้การตรวจสอบเพิ่มเติม โดยใช้ MFA ตามเงื่อนไขบางประการ เช่น
    • การเข้าถึงระบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
    • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้ที่ตรวจพบโดยซอฟต์แวร์
    • การใช้เกณฑ์เช่นสถานที่, บทบาท, ความอาวุโสและสิ่งที่คล้ายกันเพื่อกำหนดว่าต้องมีการตรวจสอบใหม่เมื่อใด
    • การใช้อัลกอริทึมเพื่อขอข้อมูลประจำตัวเพิ่มเติมในการใช้งานบางกรณี

ความสะดวกสบายของ SSO เมื่อรวมเข้ากับความปลอดภัยของ MFA เป็นตัวช่วยให้ธุรกิจมีรูปแบบที่มั่นคง ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ประสิทธิภาพและความสะดวกที่ผู้ใช้งานได้รับจาก MFA และ SSO นั้นหมายถึงปริมาณการของฝ่าย help desk ที่ให้บริการ support เพื่อการ reset password ก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง
hid corporate 1000
HID Corporate 1000 Format คือบริการจาก HID Global ในการกำหนด “format” เฉพาะสำหรับแต่ละองค์กรของผู้ใช้งาน โดยในแต่ละ format สามารถมีหมายเลขบัตรที่ไม่ซ้ำกันได้มากกว่า 8 ล้านหมายเลข ซึ่งหมายเลขบัตรนี้จะถูกบริหารจัดการโดย HID Global เพื่อรับรองว่าจะไม่มีการผลิตหมายเลขซ้ำกันออกมา
hid card printer watermark
องค์กรสมัยใหม่ที่ต้องการเพิ่มความปลอดภัยของบัตรโดยไม่เพิ่มราคาต่อบัตรได้ค้นพบว่าการเลือกเครื่องพิมพ์บัตรประจำตัวที่เหมาะสมสามารถสร้างความแตกต่างได้ โซลูชั่นต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์บัตรประจำตัว FARGO® DTC1500 จาก HID Global® มาพร้อมกับฟังก์ชั่นลายน้ำบน overlay แบบกำหนดเองในตัว ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถนำองค์ประกอบภาพที่น่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูงไปใช้กับบัตรของตนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
hid card format
หากจะเปรียบเทียบกับชุดตัวเลข ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเห็นชุดตัวเลข 19495981699 เพียงอย่างเดียว มันอาจจะไม่สามารถบ่งบอกอะไรเราได้ แต่ถ้าบอกว่า นี่คือ รูปแบบของเบอร์โทรศัพท์ประเทศสหรัฐอเมริกา เราจะสามารถตีความหมายได้ทันทีว่า เลข 1 ตัวแรกคือ Country Code และ 949 คือ Area Code ซึ่ง HID Card Format ก็เป็นไปในไอเดียเดียวกัน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy